การพัฒนาห้องสมุดโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีชีวิต



          “พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542”   นับเป็นกฎหมายการศึกษาฉบับแรก
ซึ่งนำไปสู่การปฏิรูปการศึกษาในด้านต่าง ๆ   และได้ให้ความสำคัญของแหล่งการเรียนรู้ ไว้ในมาตรา 25  ดังนี้   “มาตรา  25  รัฐต้องส่งเสริมการดำเนินงานและการจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ ได้แก่ ห้องสมุดประชาชน  พิพิธภัณฑ์  หอศิลป์  สวนสัตว์  สวนสาธารณะ
แหล่งข้อมูล  และการเรียนรู้อื่นอย่างพอเพียงและมีประสิทธิภาพ”   ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ  ชินวัตรด้านการศึกษาตามเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อพัฒนาสังคมไทให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ซึ่งกำหนดไว้ในนโยบายข้อ 8 ว่า “ปฏิรูปการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  หลักการเรียนรู้ด้วยตนเองและหลักการเรียนรู้ตลอดชีวิต เน้นพลังความคิดสร้างสรรค์นิสัยรักการอ่าน  การจัดให้มีห้องสมุด  ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน และสื่อการเรียนรู้ประเภทต่าง ๆ อย่างทั่วถึง(กระทรวงศึกษาธิการ,2546)

          สาระสำคัญดังกล่าวส่งเสริมบทบาทของห้องสมุดโรงเรียนที่ถือได้ว่าเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญ ได้เข้ามามีส่วนร่วมและมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นในฐานะเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่สำคัญในการศึกษาค้นคว้าที่อยู่ใกล้ชิดครู และนักเรียนมากที่สุด  ซึ่งครูอาจารย์จะสามารถใช้เป็นแหล่งสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี  สถานศึกษาทุกแห่งจะมีห้องสมุดไว้บริการแก่นักเรียน ครู อาจารย์   บางแห่งอาจเป็นแค่มุมหนังสือเล็ก ๆ  บางแห่งก็เป็นห้องสมุดที่ได้มาตรฐานและมีความทันสมัย  บางแห่งสามารพัฒนาเป็นห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์  มีสารสนเทศและสื่อที่ให้ความรู้ประเภทอื่น ๆ  ไว้บริการอย่างมากมาย ซึ่งในปัจจุบันห้องสมุดบางแห่งยังสามารถให้บริการแก่ชุมชนได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
ในยุคที่ข้อมูลข่าวสาร และเทคโนโลยีมีการพัฒนาเจริญก้าวหน้าไปเรื่อย ๆ  ห้องสมุดจึงมีการพัฒนารูปแบบให้มีความทันสมัย และก้าวล้ำทางเทคโนโลยี  มีสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายที่สามารถดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน  กระตุ้นให้อยากเข้าไปใช้บริการมากขึ้น และอีกทั้งยังมีบรรยากาศที่มีชีวิตชีวาแปลกใหม่ไปจากบรรยากาศเดิม ๆ  สามารถพูดคุย  ดูหนัง ฟังเพลง  อีกทั้งรับประทานขนม นมเนยได้อีกด้วย ซึ่งเราเรียกรูปแบบห้องสมุดนี้ว่า “ห้องสมุดที่มีชีวิต”  ที่เราสามารถเห็นบรรยากาศนี้ได้ที่TK PARK อุทยานการเรียนรู้ ซึ่งได้เปิดบริการ  เมื่อวันที่  24  มกราคม  2548  ที่ ชั้น  6  เซ็นทรัลเวิล์ด พลาซ่า  กรุงเทพมหานคร นั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น