องค์ประกอบของห้องสมุดที่มีชีวิต



ด้านที่ตั้ง ควรอยู่ในบริเวณศูย์กลางที่สัญจรไปมาได้สะดวกเข้าไปใช้บริการได้ง่าย

ด้านอาคารสถานที่ ควรมีพื้นที่เพียงพอและเหมาะสมในการใช้งานและใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอาคารสถานที่ที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
1)  ด้านรูปแบบอาคาร  ควรเป็นอาคารเอกเทศ สวยงาม โปร่งตา  กลมกลืนกับอาคารโดยรอบ
2)  ด้านการใช้วัสดุตกแต่ง  ควรมีการตกแต่งบานประตูหน้าต่าง  สวนหน้าห้องสมุดและส่วนการใช้งานอื่น ๆ อย่างเหมาะสม ใช้พืชและสัตว์สวยงามตกแต่งอย่างเป็นธรรมชาติ เป็นต้น
3)  ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ควรมีเฟอร์นิเจอร์หลากหลายรูปแบบ  มีบริเวณอาหารและเครื่องดื่มเป็นต้น
4)  ด้านการจัดพื้นที่ใช้สอย ควรมีพื้นที่ใช้สอย เช่น การจัดเวทีแสดง การจัดมุมต่าง ๆ  เช่น มุมพักผ่อน มุมสนทนา มุมเด็ก  มุมวัยรุ่น เป็นต้น
5) การรักษาความสะอาด ควรมีการรักษาความสะอาดทั้งภายในอาคารและภายนอกอย่างสม่ำเสมอ

ด้านการจัดบรรยากาศ ควรเป็นบรรยากาศที่เป็นกันเอง  การเลือกใช้สีที่สดใสสบายตา เฟอร์นิเจอร์เหมาะสมกับการใช้งาน  มีการแต่งบริเวณจุดต่าง ๆ ด้วยต้นไม้  ดอกไม้ รูปภาพเป็นต้น  ส่วนบรรยากาศด้านการเรียนรู้นั้น  ควรมีเจ้าหน้าที่ที่มีจิตใจด้านการบริการ เพื่อช่วยในการเรียนรู้ นอกจากนี้ควรจัดมุมที่เอื้อต่อการเรียนรู้  เช่นการจัดมุมเด็กเพื่อการเรียนรู้ของเด็กโดยเฉพาะ  การจัดมุมอ่านหนังสือพิมพ์  การแบ่งพื้นที่ใช้เสียงได้กับพื้นที่ห้ามใช้เสียงอย่างชัดเจน  การจัดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายอย่างสม่ำเสมอ  ตลอดจนการสร้างระเบียบวินัยในห้องสมุด  เช่นการใช้โทรศัพท์มือถือ การพูดคุยกันในห้องสมุดเป็นต้น

ด้านครุภัณฑ์ ควรคำนึงถึงรูปแบบที่ทันสมัย  สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า      

ด้านทรัพยากรสารสนเทศ ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของห้องสมุดที่มีชีวิต  จึงควรมีทรัพยากร  สารสนเทศที่ครอบคลุมทุกสาระวิชา  ครอบคลุมผู้ใช้บริการทุกกลุ่ม มีทั้งภาษาไทยและต่างประเทศ          มีหลากหลายประเภท  ซึ่งแบ่งออกเป็น  2  ประเภทใหญ่ ๆ  คือ วัสดุตีพิมพ์และวัสดุไม่ตีพิมพ์   มีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการและ  อยู่ในสภาพสมบูรณ์พร้อมใช้งานได้เป็นอย่างดี

ด้านบุคลากร ในฐานะผู้ให้บริการถือว่าเป็นองค์ประกอบเดียว ในห้องสมุดที่เป็น “สิ่งที่มีชีวิต”   ดังนั้นบุคลากรจึงเป็นหน่วยสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนกลไกต่าง ๆ ในห้องสมุดให้ดำเนินไปอย่างมีชีวิต และควรมีจิตสำนึกในการบริการ  มีความเสียสละรับผิดชอบต่อหน้าที่ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เพื่อสร้างบรรยากาศให้ห้องสมุดมีชีวิตชีวา อยู่เสมอ

ด้านงบประมาณ เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่จะช่วยให้การดำเนินงานทุกอย่างเป็นไปอย่างราบรื่น  ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น  2  รูปแบบ ดังนี้
1)  งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรจากหน่วยงานต้นสังกัด
2)  งบประมาณที่ห้องสมุดจัดหาเอง

ด้านการบริการและกิจกรรม ที่ห้องสมุดสามารถดำเนินการเพื่อให้มีชีวิตชีวา  อาจจำแนกเป็นประเภทได้ดังนี้ 

1)  บริการพื้นฐาน อาจจำแนกออกได้ดังนี้
          1.1)  บริการก่อนนำออกให้บริการ เช่น การคัดเลือกจัดหาทรัพยากร  การจัดหมวดหมู่ การจัดทำดรรชนีวารสาร บรรณนิทัศน์ การทำกฤตภาค  การทำป้ายบอกตำแหน่งชั้นหนังสือและป้ายแนะนำอื่น ๆ เป็นต้น
          1.2)  บริการทรัพยากรสารสนเทศ   ได้แก่  บริการวัสดุอ้างอิง  บริการยืมคืนทรัพยากรบริการสืบค้นข้อมูล  บริการเผยแพร่ทรัพยากร เป็นต้น

2) บริการพิเศษ  เช่นบริการให้คำปรึกษาส่วนบุคคล  การผลิตทรัพยากรสารสนเทศ และวัสดุที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ และการบริการชุมชน เป็นต้น 

3) กิจกรรมพิเศษ  เป็นการดำเนินงานในโอกาสต่าง ๆ ของห้องสมุดที่สามารถดำเนินการได้มีหลายรูปแบบ ดังนี้
          3.1)  กิจกรรมในห้องสมุด
                    1)  กิจกรรมที่ดำเนินงานโดยห้องสมุด  ซึ่งถือเป็นภารกิจของห้องสมุด เช่น การจัดสัปดาห์ห้องสมุด  การจัดนิทรรศการ  การออกร้านหนังสือ  การจัดบรรยาย  การสาธิต  อบรม และสัมมนา เป็นต้น
                    2)  กิจกรรมที่ดำเนินงานโดยหน่วยงานอื่น  เป็นการขอใช้พื้นที่ภายในห้องสมุด เช่น การจัดนิทรรศการศิลปะ  การประชุม การอบรม สัมมนาทางวิชาการ เป็นต้น
          3.2)  กิจกรรมนอกห้องสมุด  เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการเพื่อบริการสังคมเป็นสำคัญ เช่น การให้บริการห้องสมุดเคลื่อนที่  การจัดประชุมสัมมนา  สาธิตในชุมชน เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น