ทำไมต้องเป็นห้องสมุดที่มีชีวิต


          คำว่า “ห้องสมุดมีชีวิต” ปรากฏขึ้นในเมืองไทยโดย นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ  ชินวัตร ได้กล่าวคำนี้ในการสัมมนาทางวิชาการ ที่มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก เมื่อวันที่  10 สิงหาคม  2544 และได้กล่าวในปาฐกถา โรงเรียนในฝัน 1 โรงเรียน  1  อำเภอ  จัดโดยกระทรวงศึกษาธิการ  เมื่อวันที่  1  สิงหาคม  2546  ณ  ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์   ซึ่งได้สร้างความตื่นตัวให้แก่ผู้เกี่ยวข้องอย่างกว้างขวางและได้สนองนโยบายดังกล่าวโดยการดำเนินการให้ห้องสมุด “มีชีวิต”ตามความเข้าใจของตนตั้งแต่นั้นมา

          คำว่า “ห้องสมุดมีชีวิต” มาจากคำภาษาอังกฤษว่า Living Library  คำว่า “ ชีวิต” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พ.ศ. 2542 (2546 : 366) ให้ความหมายไว้ว่า “ความเป็นอยู่”  ซึ่งคำนี้หากมองในเชิงการตีความอาจหมายถึง “ ไม่ตาย” “ดำรงอยู่” และสิ่งมีชีวิตต้องมีการเจริญเติบโต หรืออาจหมายถึง “ชีวิตชีวา” ซึ่งหมายถึง ความสดชื่นคึกคัก หรือความสดชื่นแจ่มใส (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พ.ศ.2547: 275)


        ดังนั้นอาจสรุปได้ว่า “ห้องสมุดมีชีวิต” หมายถึง แหล่งเรียนรู้ที่ส่งเสริมสนับสนุนให้สมาชิกในสังคมได้ศึกษาค้นคว้าใฝ่หาความรู้ด้วยตนเองอย่างมีความสุข อย่างเสมอภาคเท่าเทียมกันและมีการพัฒนาก้าวหน้าหรือเติบโตต่อไปอย่างไม่หยุดยั้งผสมผสานกับความมีชีวิตชีวา สดชื่นแจ่มใส

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น